“พระร่วง” นี้มีความหมายว่าอย่างไร และทำไมจึงมีชื่อว่า “พระร่วง” แต่เท่าที่ทราบกันส่วนมากมักจะรู้กันว่า “พระร่วงส่วยน้ำ”ซึ่งข้อความนี้ในความนี้ในพงศาวดารเหนือกล่าวว่า
มีชายชาวเมืองละโว้คนหนึ่ง ซึ่งคงเคราเป็นนายกองคุมคนส่วยน้ำ สำหรับตักน้ำในทะเลชุบศร ส่งไปถวายพระเจ้าปทุมสุริยวงศ์เสวย ณ เมืองขอม อยู่มานายคงเครามีลูกชายคนหนึ่งให้ชื่อว่า “ร่วง” เด็กร่วงนั้นเกิดมาเป็นผู้มีบุญด้วยวาจาสิทธิ์ คือถ้าว่าจะอะไรเป็นอย่างไรก็เป็นอย่างนั้นมาแต่กำเนิด แต่ไม่รู้ตัวว่ามีฤทธิเช่นนั้นมาจนอายุได้ 11 ปี วันหนึ่งพายเรือไปในทะเลชุบศรเรือทวนน้ำเด็กร่วงพายเหนื่อยจึงออกปากว่า “นี่ทำไมน้ำไม่ไหลกลับไปทางโน้นมั่ง” พอว่าขาดคำน้ำก็ไหลกลับไปอย่างว่า เด็กร่วงก็รู้ตัวว่ามีวาจาสิทธิ์แต่ปิดความไว้ไม่ให้ผู้อื่นรู้
ครั้งนายคงเคราตายพวกไพร่พร้อมใจกันยกนายร่วงขึ้นเป็นนายกองส่วยน้ำแทนพ่อ พอประจวบเวลานักคุ้มข้าหลวงขอมคุมเวียนบรรทุกกล่องสานสำหรับใส่น้ำเสวยมาถึงเมืองละโว้สั่งให้นายร่วงเกณฑ์ไพร่ตักน้ำเสวยส่งส่วยตามเคย นายร่วงเห็นว่ากล่องน้ำที่ทำมานั้นหนักจึงสั่งให้ไพร่สานชะลอมขึ้นเป็นอันมาก แล้วให้เอาชะลอมจุ่มลงในน้ำลั่นวาจาสิทธิ์สั่งน้ำให้ขะงอยู่ในชะลอมก็เป็นเช่นว่า นักคุ้มข้าหลวงเห็นเช่นนั้นก็กลัวฤทธิ์นายร่วงรีบรับชะลอมน้ำกลับไปยังเมืองขอม ทูลพระเจ้าปทุมสุริยวงศ์ว่ามีผู้วิเศษเกิดขึ้นที่เมืองละโว้ก็ทรงพระวิตกเกรงว่าจะเป็นกบฏ จึงแต่งกองทหารให้มาจับตัวนายร่วง แต่นายร่วงได้ยินข่าวรู้ตัวก่อนจึงหนีออกจากเมืองละโว้ขึ้นไปยังเมืองเหนือไปชวชเป็นพระภิกษุอยู่ ณ วัดแห่งหนึ่งในเมืองสุโขทัย คนจึงเรียกกันว่า “พระร่วง” เหตุเพราะที่บวชเป็นพระ
ฝ่ายทหารขอมมาถึงเมืองละโว้รู้ว่านายร่วงรู้ตัวหนีขึ้นไปทางเมืองเหนือ ตัวนายทหารขอมก็ตามขึ้นไปเที่ยวสืบเสาะได้ความ แต่ว่านายร่วงหนีไปอยู่ที่เมืองสุโขทัยมิรู้ว่าบวชเป็นพระ แต่ว่าขอมก็ได้ดำดินเข้าไปในเมือง เผอิญไปโผล่ขึ้นในลานวัดที่พระร่วงบวชอยู่ เวลานั้นพระร่วงกำลังกวาดวัดเห็นเข้าก็รู้ว่าเป็นขอม แต่ขอมไม่รู้จักพระร่วงก็ถามว่า “รู้หรือไม่ว่านายร่วงที่มาจากเมืองละโว้อยู่ที่ไหน” พระร่วงก็ลั่นวาจาสิทธิ์สาปว่า “สูอยู่ที่นั่นเถิด รูปจะไปบอกนายร่วง” พอขาดคำ ขอมก็กลายเป็นหินติดคาแผ่นดินอยู่ที่ตรงนั้นด้วยอำนาจวาจาสิทธิ์ของพระร่วง ชาวเมืองสุโขทัยจึงรู้ว่าพระร่วงเป็นผู้มีบุญ
เมื่อพระเจ้ากรุงสุโขทัยสิ้นพระชนม์ พวกเสนาอำมาตย์จึงพร้อมใจกันเชิญพระร่วงขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ทรงพระนามว่า “พระเจ้าศรีจันทราธิบดี”
นอกจากที่ได้กล่าวมานี้แล้วยังมั่นใจได้อีกว่า ในเมืองสุโขทัยนั้น พ่อขุนรวมคำแหงมหาราชก็ยังได้ชื่อว่า “พระร่วง” ดังคำของกรมหมื่นราธิปฯ กล่าวว่า
“หล่ายชั่วสยามชาติรู้ ลืมไฉน
นามพระร่วงบรรลือ ลั่นแคว้น
วาจาสิทธิ์ฤทธิ์ไท รักท่านแท้แล
คอยเชื่อฟังถ้อยแม้น บิดรฯ”
อีกตอนหนึ่งว่า – – –
“พระร่วง พระเลิศเจ้า ไทใด
พระร่วง พ่อขุนคน ทั่วแคว้น
พระร่วง พระเรืองชัย เรืองโชค ฉลวยแฮ
พระร่วงรวมนี้แม้น ยากมีฯ
แต่ที่แปลกมากไม่มีใครทราบว่า พระร่วง นี้ได้กำเนิดเกิดมากับพระเครื่องฯ ได้อย่างไร? เพียงแต่ทราบว่า นามมงคลพระร่วง นี้ได้เรียกกันมาแล้วในสมัยของรัชกาลที่ 4-5 แล้ว และก็ยากที่จะหาหลักฐานมากล่าวอ้างอิงว่า การตั้งชื่อพระร่วงนี้เกิดแต่ในกรุก็ใช่ที่ และก็ยังไม่มีหลักฐานอะไรมาอ้างอิง
แต่ในปัจจุบันคำว่าพระร่วงมักจะเรยกกันกับพระเครื่องประทานพร ทรงเครื่องบ้าง ไม่ทรงบ้าง และเป็นพระตะกั่วสนิมแดง
คำว่าพระร่วงจึงเป็นที่รู้จักกันทุ่วไปตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา อาทิเช่น
พระร่วงโรจนฤทธิ์ที่องค์พระปฐมเจดีย์
และนอกจากนี้แล้ว ถ้าปฏิมากรรมของขลังใดๆ ก็ตาม ถ้ามีชื่อขึ้นว่าพระร่วงแล้วพระเครื่องฯ นั้นย่อมแรงไปด้วยอิทธิฤทธิ์ในทางพุทธคุณเป็นยอดตามหลักฐานประวัติศาสตร์ได้กล่าวมาแล้วนั่นเอง
ที่มา — ปฏิมากรรมประเครื่อง แห่งประเทศไทย