พระขุนแผน กรุวัดบ้านกร่าง สุพรรณบุรี พิมพ์ซุ้มเถาวัลย์เลื้อย
฿ 75,000.00
ให้เช่าพระขุนแผน กรุวัดบ้านกร่าง สุพรรณบุรี พิมพ์ซุ้มเถาวัลย์เลื้อย เนื้อละเอียด พุทธคุณสูงส่งทางด้านเมตตามหานิยม มหาเสน่ห์ แคล้วคลาด และคงกระพันชาตรีเป็นเลิศ
คำอธิบาย
พระขุนแผนกรุบ้านกร่างเป็นพระมีอยู่มากมายหลายพิมพ์ด้วยกัน แต่ที่เหมือนกันหมดทุกพิมพ์ก็คือ เนื้อพระไม่ว่าจะเป็นพิมพ์ไหนก็ต้องเป็นเนื้อเดียวกันหมด คือ เนื้อดินเผาผสมว่านและเกสรดอกไม้ นานาชนิด ไม่ปรากฏว่ามีเนื้อประเภทอื่น ถ้าเป็นเนื้อดินหยาบก็เต็มไปด้วยเม็ดกรวดทราย มีโพรงอากาศ ส่วนที่เนื้อละเอียดก็มีแต่ก็จะหยาบกว่าพระเนื้อดินของกรุอื่น ๆ”
วัดบ้านกร่างนั้นตั้งอยู่ ตำบลศรีประจันต์ อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรีทิศตะวันตกของแม่น้ำสุพรรณ (ท่าจีน)เป็นวัดที่สร้างมาในสมัยอยุธยา พระที่แตกกรุออกมาจากวัดบ้านกร่างนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นพระตระกูลขุนแผนพิมพ์ต่าง ๆ มีจำนวนมากมายนับเป็นหมื่น ๆ องค์ เป็นเนื้อดินทั้งหมด เจดีย์ที่กรุแตกนั้นได้ชำรุดทรุดโทรมมาก
พระวัดบ้านกร่าง สันนิษฐานว่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้เดินทัพมาถึงเมืองสุพรรณ เพื่อนำทัพมารบกับพม่าโดยมีพระมหาอุปราชาเป็นแม่ทัพใหญ่ โดยได้สร้างพระไว้ที่วัดบ้านกร่าง อำเภอศรีประจันต์ เพื่อให้ทหารไว้ใช้ในการรบครั้งนั้น เมื่อรบชนะแล้วเป็นคติของคนโบราณ เมื่อมิได้ใช้พระแล้วก็จะไม่นำติดตัวกลับบ้าน แต่จะนำมารวมกันไว้ที่วัดแล้วก็สร้างเจดีย์บรรจุพระเอาไว้ทั้งหมด จึงเข้าใจว่าผู้ที่สร้างพระบ้านกร่างก็คือ สมเด็จพระนเรศวรนั่นเอง
อีกสาเหตุหนึ่งนั้น พระบ้านกร่างเป็นพระพิมพ์เดียวกับพระกรุวัดใหญ่ชัยมงคล อยุธยา ซึ่งมีหลักฐานแน่นอนว่าสมเด็จพระนเรศวรเป็นผู้สร้างพระพิมพ์เดียวกัน นั่นคือ พระขุนแผนเคลือบ ของวัดใหญ่ชัยมงคลเป็นพระพิมพ์เดียวกับพระขุนแผนบ้านกร่าง ผิดกันที่เนื้อ และความประณีต กล่าวคือ พระของกรุวัดบ้านกร่างเนื้อพระจะหยาบ และความประณีตสู้ของขุนแผนกรุวัดใหญ่ชัยมงคลไม่ได้ เข้าใจว่าต้องการรีบสร้างให้ทันเวลาในการทำศึก วัสดุในการทำและความประณีตจึงหยาบกว่าของวัดใหญ่ชัยมงคล เพราะฉะนั้นจึงเป็นไปได้ว่า พระขุนแผนของกรุวัดบ้านกร่างน่าจะสร้างก่อนพระขุนแผนเคลือบ ของกรุวัดใหญ่ชัยมงคล เรื่องของพุทธคุณจึงยอดเยี่ยมในทางแคล้วคลาด คงกระพันชาตรี
วัดบ้านกร่าง มีจำนวนการสร้าง 84000 องค์ มีทั้งหมด 25 พิมพ์ โดยมี สกุลขุนแผน 9 พิมพ์ พลายเดี่ยว 8 พิมพ์ พลายคู่ 8 พิมพ์ทั้งหมดเป็นพระเนื้อดินเผาเพียงอย่างเดียวไม่ปรากฎเนื้ออื่นๆหรือพิมพิเศษอืนใค มี เพียงมาตราฐาน 25 พิมพ์เท่านั้นที่ยอมรับ โดยมีการเรียงลำดับความนิยมดังต่อไปนี้
- พระขุนแผน พิมพ์ห้าเหลี่ยม อกใหญ่
- พระขุนแผน พิมพ์ห้าเหลี่ยม อกเล็ก
- พระขุนแผน พิมพ์ทรงพลใหญ่ธรรมดา
- พระขุนแผน พิมพ์ทรงพลใหญ่ฐานบัว
- พระขุนแผน พิมพ์ทรงพลเล็ก
- พระขุนแผน พิมพ์เถาวัลย์เลื้อย
- พระขุนแผน พิมพ์ซุ้มเหลือบ
- พระขุนแผน พิมพ์ใบไม้ร่วง
- พระขุนแผน พิมพ์ทรงพล
- พระพลายเดี่ยว พิมพ์พระประธาน
- พระพลายเดี่ยว พิมพ์หน้าเทวดา
- พระพลายเดี่ยว พิมพ์หน้าฤาษี
- พระพลายเดี่ยว พิมพ์ใบมะยม
- พระพลายเดี่ยว พิมพ์แขนอ่อน
- พระพลายเดี่ยว พิมพ์ก้างปลา
- พระพลายเดี่ยว พิมพ์ซุ้มประตู
- พระพลายเดี่ยว พิมพ์ใบพุทรา
- พระพลายคู่ พิมพ์หน้ายักษ์
- พระพลายคู่ พิมพ์อกครุฑ
- พระพลายคู่ พิมพ์หน้าเทวดา
- พระพลายคู่ พิมพ์หน้ากลม
- พระพลายคู่ พิมพ์หน้าฤาษี
- พระพลายคู่ พิมพ์หน้ามงคล
- พระพลายคู่ พิมพ์ 2 ปาง (ปางสมาธิและปางมารวิชัย)
- พระพลายคู่ พิมพ์จัมโบ้
พระขุนแผน กรุวัดบ้านกร่าง สุพรรณบุรี เมื่อพิจารณาจากศิลปะแล้ว บอกให้รู้ว่าเป็น พระในสมัยอยุธยาตอนกลาง โดยมีศิลปะที่อ่อนช้อยสวยงาม เป็นเอกลักษณ์ของตัวเองมากที่สุด