เหรียญรูปเหมือนอนุสรณ์ 100 ปี สมเด็จพุฒาจารย์ เนื้อทองแดง พิมพ์กรรมการ

฿ 3,500.00

ให้เช่าเหรียญรูปเหมือนอนุสรณ์ 100 ปี สมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) พ.ศ. 2515 ขนาดใหญ่ 4.1 ซม. เนื้อทองแดง สำหรับแจกพระอาจารย์ที่นั่งปรกสวดพุทธาภิเษก และกรรมการ พิมพ์นี้หายาก

มีสินค้าอยู่ 1

รหัสสินค้า: AM012 หมวดหมู่: ,

คำอธิบาย

ให้เช่าเหรียญรูปเหมือนอนุสรณ์ 100 ปี สมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) พ.ศ. 2515 ขนาดใหญ่ 4.1 ซม. เนื้อทองแดง สำหรับแจกพระอาจารย์ที่นั่งปรกสวดพุทธาภิเษก และกรรมการ พิมพ์นี้หายาก

พระเครื่องสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี รุ่น ๑๐๐ ปี พ.ศ.๒๕๑๕ อีกหนึ่งวัตถุมงคลอันล้ำเลิศที่เกี่ยวเนื่องกับ “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” โดยตรงคือ “วัตถุมงคลอนุสรณ์ ๑๐๐ ปี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี” ที่จัดสร้างขึ้นเมื่อวันที่ ๒๒มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๕ และ ดำเนินการจัดสร้างโดย วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร ซึ่งมี “กองทัพเรือ” ร่วมเป็นแม่งานซึ่งมูลเหตุในการจัดสร้างก็เพื่อเป็นการบำเพ็ญกุศลอุทิศถวาย แด่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) อดีตอธิบดีสงฆ์แห่งวัดระฆังโฆสิตารามซึ่งเป็น พระมหาเถระ (พระเถระชั้นผู้ใหญ่) องค์สำคัญของ กรุงรัตนโกสินทร์ ที่มีอายุยืนยาวถึง ๕ แผ่นดิน โดยที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์โต ได้ถึงแก่มรณภาพ เมื่อ วันที่ ๒๒มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๑๕ ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ แห่ง “พระมหาจักรีบรมราชวงศ์”ประจวบกับในปี พ.ศ. ๒๕๑๕ วัดระฆังโฆสิตาราม มีเสนาสนะที่ชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลาและเนื่องจากเป็น “พระอารามหลวง” ที่สำคัญของ “กรุงรัตนโกสินทร์” มีสิ่งก่อสร้างและถาวรวัตถุเป็น “โบราณสถาน”และ “โบราณวัตถุ” ที่ขึ้นทะเบียนไว้แล้วโดย “กรมศิลปากร” เมื่อชำรุดทรุดโทรมดังกล่าวที่หากรอ “งบประมาณ” จากทางราชการเห็นทีจะไม่ทันการเพราะความชำรุดเสียหายจะมีมากขึ้นและยากต่อ การทำนุบำรุงรักษา

ดังนั้น วัดระฆังโฆสิตาราม นำโดยพระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณ “พระราชธรรมภาณี” เจ้าอาวาสวัดระฆังฯ ในขณะนั้น ได้ประชุม คณะกรรมการวัดระฆังโฆสิตาราม มีมติเป็นเอกฉันท์ให้มีการจัดสร้าง “วัตถุมงคล”เพื่อเป็นอนุสรณ์ครบรอบ วันมรณภาพ และเพื่ออุทิศถวาย เป็นกุศลพระเดชพระคุณท่าน เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี พร้อมเพื่อให้ศรัทธาสาธุชนเช่าบูชาไว้เป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว ประกอบนับตั้งแต่ท่านเจ้าประคุณ สมเด็จพระพุฒาจารย์โต และท่านเจ้าประคุณ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (ม.จ.ทัด เสนีย์วงศ์-สมเด็จพระพุทธบาทปิลันทน์) และท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ม.ร.ว.เจริญ อิศรางกูร) มรณภาพแล้ว วัดระฆังโฆสิตาราม ก็มิได้จัดสร้างวัตถุมงคล อย่างเป็นทางการ ขึ้นสักครั้งดังนั้นครั้งนี้นับเป็นโอกาส อันเหมาะสมยิ่ง และเพื่อความเป็น “สิริมงคลอันสูงสุด” เห็นควรนำเรื่องขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทอัญเชิญ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และ พระบรมวงศานุวงศ์ ทรงประกอบพิธีเททองหล่อวัตถุมงคลเป็น ปฐมมหามงคลราชาฤกษ์

ในการดำเนินการจัดสร้างวัตถุมงคลอนุสรณ์ ๑๐๐ ปี สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ในครั้งนี้ ทางคณะกรรมการดำเนินการจัดสร้าง ได้กำหนดให้ใช้ชื่อโครงการจัดสร้างว่า… “โครงการปูชนียวัตถุ เพื่อเป็นอนุสารณ์ครบ ๑๐๐ ปี แห่ง มรณภาพของเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ณ วัดระฆังโฆสิตาราม จังหวัดธนบุรี” ซึ่งทางวัดได้บันทึกคำปรารภวัตถุประสงค์ในการจัดสร้างไว้ว่า…

“การ สร้างพระพุทธรูป (พระประธานจำลอง) รูปสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) และปูชนียวัตถุอื่น ๆ เนื่องในการบำเพ็ญกุศลและเพื่อเป็นอนุสรณ์ครบ ๑๐๐ ปี แห่ง มรณภาพของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) วัดระฆังโฆสิตาราม ในวันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๕ นั้น การจัดสร้างปูชนียวัตถุครั้งนี้ก็โดยดำริว่า วัดระฆังโฆสิตาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ระดับวรมหาวิหาร มีประวัติศาสตร์และเรื่องราวที่เป็นมาแล้ว แต่กาลก่อนที่สำคัญ ๆ ปัจจุบันอยู่ในสภาพที่ชำรุดทรุดโทรม สมควรที่จะทำนุบำรุง ปรับปรุง บูรณะปฏิสังขรณ์ให้ดีนั้นก็ต้องมีกำลังเงิน ทุกปีได้มีผู้มีจิตกุศลศรัทธาร่วมทุนทรัพย์และแรงทำบุญกันตลอดมา เพื่อจุดประสงค์ที่จะทะนุบำรุงให้ดี แต่ก็ไม่เป็นการเพียงพอ เพราะการชำรุดทรุดโทรม และสิ่งที่จะต้องปรับปรุงแก้ไขมีอยู่มาก ประกอบกับขณะนั้นทางอนุกรรมการบูรณะปฏิสังขรณ์หอพระไตร ปิฎกวัดระฆังโฆสิตารามได้ พิจารณาเห็นว่า หอพระไตรปิฎก เป็นสิ่งเร่งด่วนที่จะต้องบูรณะซ่อมแซมให้สมกับเป็นโบราณสถานของชาติ ซึ่งจำเป็นต้องมีเงินทุนในการบูรณะเช่นกัน ฉะนั้นถ้าจะทำให้สำเร็จตามที่ดำริไว้ก็จะต้องใช้เงินเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะต้องจัดหาเงินขึ้นด้วยกุศลเจตนาอันบริสุทธิ์และด้วยบุญบารมีของเจ้า ประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ซึ่งเคยเป็นเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม จนเรียกกันติดปากว่า“สมเด็จฯ โต วัดระฆังฯ” เสมือนบันดาลให้ ม.ล. เนื่องพร สุทัศน์ ซึ่งนับได้ว่าเป็นผู้ริเริ่มในการทำงานครั้งนี้ ได้อ่านพบวันมรณภาพของ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ซึ่งจะครบ ๑๐๐ ปี ในวันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๕ จึงถือวันที่มีความหมายสำคัญนี้เป็นจุดทำงาน ประกอบกับเป็นช่วงระยะเวลาห่างจากเวลาที่ดำริไว้ พอที่จะดำเนินการได้ทัน งานที่จะทำก็คือ งานบำเพ็ญกุศลครบ ๑๐๐ ปี และในโอกาสเดียวกันก็จัดเป็นงานเพื่อให้ศาสนิกชนได้ร่วมกันทำบุญ โดยการจัดสร้างปูชนียวัตถุขึ้น

นอกจากจะเป็นอนุสรณ์แล้ว ยังจะได้รายได้จากผู้มีจิตกุศลนำไปทำนุบำรุง ปรับปรุง บูรณะปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุของวัดระฆังโฆสิตาราม ซึ่งถือว่าเป็นวัดของสมเด็จ (โต) สมประสงค์ดังที่ดำริ”จาก คำปรารภวัตถุประสงค์ในการจัดสร้างนี้จะเห็นได้ว่า วัตถุมงคลอนุสรณ์ ๑๐๐ ปี สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนและถึงพร้อมด้วยเจตนาดี จึงเป็นวัตถุมงคลที่ทรงคุณค่าน่าเสาะแสวงหามาเป็นวัตถุมงคลประจำตัวและครอบ ครัว ประกอบกับเป็นวัตถุมงคลที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯเสด็จ พระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเททองหล่อเป็นปฐมมหามงคลฤกษ์ เมื่อวันที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๔ และทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินในพิธีมหาพุทธาภิเษกในวันที่๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๑๕๑๕ ซึ่งเป็นวันคล้ายวันมรณภาพของท่านเจ้าประคุณ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณแก่วัดระฆังโฆสิตาราม และคณะกรรมการดำเนินการจัดสร้างวัตถุมงคลอนุสรณ์ ๑๐๐ ปี สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) และประชาชนทั่วไปที่มีกุศลจิตศรัทธาในพระบารมีธรรมของท่านเจ้าประคุณสมเด็จ พระพุฒาจารย์ (โต) เป็นล้นพ้น

ในการดำเนินการจัดสร้างวัตถุมงคลอนุสรณ์ ๑๐๐ ปีฯ นี้ ทางคณะกรรมการมีความเห็นว่า กองทัพเรือ มีความเกี่ยวข้องผูกพันกับ วัดระฆังฯ มาช้านาน จึงมอบหมายให้ พล.ร.อ.จรูญ เฉลิมเตียรณ ผู้บัญชาการทหารเรือในขณะนั้น เป็นประธานกรรมการอำนวยการโครงการ และถวาย ท่านเจ้าคุณพระราชธรรมภาณี (ละมูล) รักษาการเจ้าอาวาสวัดระฆังฯ ในขณะนั้นเป็นประธานดำเนินการฝ่ายบรรพชิตและ มอบหมายให้ พล.ร.ท. อุดม สุทัศน์ ณ อยุธยา เจ้ากรมอู่ทหารเรือในขณะนั้นเป็นประธานคณะกรรมการดำเนินการฝ่ายฆราวาส และได้แต่งตั้งกรรมการ แต่ละสายงานประกอบด้วยกรรมการกลาง กรรมการประชาสัมพันธ์ และจัดทำหนังสือ กรรมการหารายได้ กรรมการจัดสร้างปูชนียวัตถุ กรรมการพิธีการทางศาสนา กรรมการสถานที่ กรรมการการเงิน กรรมการรักษาความสงบและการจราจรขึ้นมา เพื่อให้งานสำเร็จลุล่วงไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการดังกล่าววัตถุมงคลที่ ดำเนินการจัดสร้างประกอบด้วย

๑. พระพุทธรูปบูชา ซึ่งจำลองจากพระประธานในพระอุโบสถ วัดระฆังโฆสิตาราม โดยพระประธานในอุโบสถวัดระฆังฯ นี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสชื่นชมพระประธานในพระอุโบสถนี้ว่า “ไปวัดไหนไม่เหมือนมาวัดระฆังฯ พอเข้าประตูโบสถ์พระประธานยิ้มรับฟ้าทุกที” พระพุทธรูปบูชาซึ่งจำลองจากพระประธานวัดระฆังฯ ในครั้งนี้ จัดสร้าง ๒ ขนาด คือ ขนาดหน้าตักกว้าง ๙ นิ้ว และขนาดหน้าตักกว้าง ๕ นิ้ว โดยขนาดหน้าตักกว้าง ๙ นิ้ว มีฐานกว้าง ๑๔ นิ้ว ขนาดความสูงรวมฐาน ๑๘ นิ้ว จัดสร้างด้วยเนื้อ นวโลหะ จำนวน ๘๕ องค์ ตามอายุของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต)และจัดสร้างด้วยเนื้อโลหะผสม จำนวน ๕๑๕ องค์ ตามปี พ.ศ. ที่ครบ ๑๐๐ ปี และขนาดหน้าตักกว้าง ๕ นิ้ว ฐานกว้าง ๙ นิ้ว สูง ๑๒ นิ้ว ทำด้วยเนื้อ โลหะผสม จำนวน ๕๑๕ องค์ พระพุทธรูปจำลองจากพระประธานออกแบบปั้นโดย นายโต ขำเดช ซึ่งตั้งใจปั้นด้วยความละเอียดประณีตวิจิตรบรรจง โดยมีเจตนาจะให้เหมือนพระประธานในวัดระฆังฯ ให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ โดยพิจารณาจากองค์พระและฐานที่ประดิษฐานองค์พระก็จำลองมาจากของจริงใน อุโบสถ วัดระฆังฯ

๒. พระรูปเหมือนท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) จัดสร้าง ๒ ขนาด ด้วยกัน คือ ขนาดหน้าตักกว้าง ๙ นิ้ว มีฐานกว้าง ๑๐ นิ้ว สูงรวมฐาน ๑๔ นิ้ว สร้างด้วยเนื้อโลหะผสม จำนวน ๕๑๕ องค์ และขนาดหน้าตักกว้าง ๕ นิ้ว ฐานกว้าง ๕ นิ้ว สูง ๗ นิ้ว จัดสร้างด้วย เนื้อโลหะผสม ไม่จำกัดจำนวน สุดแต่จะมีผู้สั่งจอง หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ จัดสร้างตามจำนวนสั่งจอง นอกจากนี้ยังจัดสร้างองค์ใหญ่ขนาดเท่าองค์จริงของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ออกแบบปั้นโดยอาจารย์สนั่น ศิลากรณ์ แห่งคณะจิตรกรรม ประติมากรรมภาพพิมพ์และภาพไทยมหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งเป็นศิษย์เอกของท่านศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี และมอบหมายให้ นายบุญเรือน หงส์มณี เป็นผู้ดำเนินการหล่อต่อไป

๓.พระกริ่งพิมพ์พระประธาน จำลองจากองค์ พระพุทธปฏิมาประธาน ในพระอุโบสถ วัดระฆังโฆสิตาราม เช่นเดียวกับพระบูชา ได้รับการออกแบบแกะแม่พิมพ์โดย นายช่างเกษม มงคลเจริญ ซึ่งมีความงดงามราวกับนำพระพุทธปฏิมาประธานมาย่อส่วน ซึ่งในยุคนั้นหรือยุคปัจจุบันก็ตาม ถือว่า นายช่างเกษม มงคลเจริญ มีฝีมือเป็นเอกและเป็นที่ยอมรับกันมาจวบจนปัจจุบัน พระกริ่งพิมพ์พระประธาน ฐานกว้าง ๒.๒ ซม.
สูง ๓.๒ ซม. จัดสร้างด้วยเนื้อทองคำ ๕๑๕ องค์ และนวะโลหะ ๕,๐๐๐ องค์ และเนื้อเงินอีกจำนวนหนึ่ง (ไม่ทราบจำนวน) นอกจากพระกริ่งพิมพ์พระประธานแล้วก็ยังมีพระชัยวัฒน์ ซึ่งมีขนาดย่อมลงมา และมิได้บรรจุเม็ดกริ่ง

๔.พระเครื่องพิมพ์สมเด็จสี่เหลี่ยมชิ้นฟัก ซึ่งเป็นพระพิมพ์ที่มีชื่อเสียงของวัดระฆัง ปัจจุบันได้รับการยอมรับว่าเป็น จักรพรรดิของพระเครื่อง และเป็นหนึ่งในชุด เบญจภาคี ที่ได้รับความนิยมสูงสุดจากนักนิยมสะสมพระเครื่องทั้งหลาย ซึ่งได้ดำเนินการจัดสร้างในความรับผิดชอบของพระครูใบฎีกาโชคชัย และนายช่างเกษม มงคลเจริญ เป็นผู้ดำเนินการแกะแม่พิมพ์ ซึ่งจำแนกออกเป็น ๓ แบบพิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่ทรงนิยม อันเป็นพิมพ์ดั้งเดิมของวัดระฆังฯ พิมพ์สมเด็จคะแนน เป็นพิมพ์ใหญ่แต่ย่อส่วนให้เล็กลง ซึ่งเป็นพิมพ์ดั้งเดิมของวัดระฆังฯ ซึ่งสร้างในสมัยท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์โต และพิมพ์ที่สามเป็นพิมพ์พระรูปเหมือนท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ โต นั่งอยู่ภายใน ลายเส้นขอบเป็นทรงระฆัง เพื่อคงเอกลักษณ์ของชื่อวัดไว้ แต่ละพิมพ์จัดสร้างจำนวนพิมพ์ละ ๘๔,๐๐๐ องค์ เท่ากับจำนวน พระธรรมขันธ์ ซึ่งพระผงแต่ละพิมพ์มีจำนวนรวมกันทั้งหมด ๒๕๒,๐๐๐ องค์ (สองแสนห้าหมื่นสองพันองค์) ซึ่งจำนวนพระที่มีมากมายนี้มีข้อที่น่าสังเกตก็คือ มีจำนวนมากมายกระทั่งคนที่คิดไม่ดีก็ออกปากว่ามี ของเสริม ข้อเท็จจริงก็คือ สำหรับพระสมเด็จวัดระฆังรุ่ง ๑๐๐ ปีนี้ ของเสริม ไม่มีแน่นอน จะมีก็แต่ ของเก๊หรือ ของเทียม หรือเลียนแบบเท่านั้น อย่าลืมว่าในสมัยปี ๒๕๑๕-๒๕๑๖ นั้น พระสมเด็จวัดระฆังฯ รุ่น ๑๐๐ ปีนี้ดังมาก พระเครื่องอะไรที่ดังมาก ๆ ราคาเช่าหาแพงขึ้น ของปลอมยิ่งมีมากเป็นเงาตามตัว เหตุเกิดเช่นนี้ก็เลยมีเสียงลือเสียงเล่าอ้างว่า พระสมเด็จวัดระฆังฯ รุ่น ๑๐๐ ปี มีของเสริม จึงทำให้ค่าความนิยมของพระสมเด็จฯ รุ่นนี้ยังย่ำอยู่กับที่ไม่สูงส่งมาก ก็นับว่าเป็นโอกาสดีของนักสะสม เพราะเนื้อหามวลสารและพิธีกรรมของพระสมเด็จวัดระฆังฯ รุ่น ๑๐๐ ปีนี้ดีมาก จึงทำให้นักสะสมมองข้ามไปอย่างน่าเสียดาย

จากบันทึกของวัด ได้ระบุไว้ว่า…ส่วนผสมของพระสมเด็จวัดระฆังฯ รุ่น ๑๐๐ ปีนี้ ประกอบไปด้วย เกสรดอกไม้ โดยเฉพาะเกสรดอกบัวที่บูชา พระแก้วมรกต เกสรดอกไม้ที่บูชาตามสถานที่ สำคัญ ๆ ทั่วพระราชอาณาจักร เศษทองคำเปลวที่ปิดบูชาพระทั่วพระราชอาณาจักร โดยเฉพาะที่ปิด พระรูปเหมือนสมเด็จฯ โต ภายในพระวิหารที่วัดระฆัง ผงปถมัง ผงอิทธิเจ ผงตรีปสิงเห และ ผงมหาราช ที่บรรดาพระเกจิอาจารย์องค์สำคัญ ๆ ประสิทธิ์ประสาทไว้ เช่น หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี หลวงพ่อกล้วย วัดหงส์ฯ ธนบุรี หลวงปู่นาค วัดระฆังฯ ฯลฯ นอกจากนี้ก็ยังมีผงพระที่ชำรุด ไม่เป็นองค์แล้ว อย่างเช่น พระสมเด็จวัดระฆังรุ่นแรกของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์โต ผงพระสมเด็จปิลันทน์ ของท่านเจ้าประคุณ สมเด็จพุฒาจารย์ ม.จ. (ทัด เสนีย์วงศ์) หรือ สมเด็จพระพุทธบาทปิลันทน์ ผงว่านที่มีอานุภาพด้านต่าง ๆ ๑๐๘ ชนิด ไคลเสมาหน้าพระอุโบสถวัดระฆัง ผงปูนจากเสมาและภายในพระอุโบสถ เมื่อคราวบูรณะฯ ฯลฯ

๕.เหรียญพระรูปเหมือนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) จัดสร้างเป็น ๒ แบบด้วยกัน คือ ขนาดใหญ่ มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๒.๔ ซม. และขนาดเล็ก มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑.๕ ซม. ได้รับการออกแบบปั้น ต้นแบบโดย ศาสตราจารย์สนั่น ศิลากร เช่นเดียวกับพระรูปเหมือนสมเด็จพระพุฒาจารย์โต และนำไปจัดสร้างเป็นเหรียญโดย กองกษาปณ์ กรมธนารักษ์ สำหรับเหรียญทั้งสองขนาดนี้ จัดทำด้วย เนื้อทองคำ เนื้อเงิน และ เนื้อทองแดง โดยเหรียญทองคำจัดสร้างขนาดละ ๑,๐๐๐ เหรียญ เหรียญเงินจัดสร้างขนาดละ ๒,๕๑๔ เหรียญ และเหรียญทองแดงจัดสร้างขนาดละ ๘๔,๐๐๐ เหรียญ

นอกจากนี้ทางคณะกรรมการยังได้ดำเนินการจัดสร้างเหรียญชุดกรรมการด้วย เนื้อทองคำ และเนื้อทองแดง อีก ๒ ขนาด คือ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๔.๑ ซม. ด้วยเนื้อทองคำเพียงขนาดเดียว สำหรับนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มหาราช และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สำหรับขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๗ ซม. และขนาด ๔.๑ สร้างด้วยเนื้อทองแดงอีกต่างหาก สำหรับมอบเป็นที่ระลึกแก่ผู้มีอุปการคุณให้การช่วยเหลือทั้งกำลังทรัพย์ กำลังสติปัญญา และกำลังกาย ในการจัดสร้างปูชนียวัตถุในครั้งนี้

ด้านหน้าของเหรียญเป็นรูปเหมือนของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ โต หันหน้าเฉียง ครึ่งองค์ ด้านหลังเป็นยันต์สมเด็จฯ โต เพื่อให้ปูชนียวัตถุมงคลอนุสรณ์ ๑๐๐ ปี ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ชุดนี้ ทรงคุณค่าและถึงพร้อมด้วยพระพุทธานุภาพ พระธรรมานุภาพ และพระสังฆานุภาพ ทางคณะกรรมการได้นำเอาผงพุทธคุณที่จะใช้สร้างพระและแผ่นทองแดง ซึ่งพระคณาจารย์ ผู้ทรงวิทยาคุณทั่วพระราชอาณาจักรได้ลงอักขระเลขยันต์ตามสูตร ที่ได้รับการประสิทธิ์ประสาทและร่ำเรียนมาแล้ว นำมาหลอมรวมกับโลหะเก่าๆชนวนพระเครื่องรุ่นเก่า ๆ ที่ศักดิ์สิทธิ์ และได้รับความนิยมเป็นแท่งๆ นำมาวางรวมไว้ในพระอุโบสถ และทางวัดระฆังฯ ได้ประกอบพิธีมังคลาภิเษกปลุกเสกโลหะก่อนการเททอง ซึ่งได้กระทำใน วันพฤหัสบดีที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๔ ซึ่งมีพระเดชพระคุณท่าน เจ้าคุณพระราชธรรมภาณี (ละมูล) รักษาการเจ้าอาวาสวัดระฆังฯ ในขณะนั้น เป็นประธานพิธีฝ่ายสงฆ์ และมีพระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณ ๑๐ รูปนั่งปรกในพิธีมังคลาภิเษก ปลุกเสกโลหะในครั้งนี้ ได้แก่ พระรักขิตวันมุนี (ถิร) วัดป่าเลไลยก์ สุพรรณบุรี, พระโพธิวรคุณ (ไพฑูรย์) วัดโพธินิมิตร ธนบุรี, พระพุทธมนต์ วราจารย์ (สุพจน์) วัดสุทัศน์ฯ กรุงเทพฯ, พระอาจารย์ผ่อง จินดา วัดจักรวรรดิ์ กรุงเทพฯ, พระครูวิริยกิตติ (หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี ธนบุรี, พระครูโสภณกัลยาณวัตร (เส่ง) วัดกัลยาณมิตร ธนบุรี, พระครูกัลยานุกูล (เฮง) วัดกัลยาณมิตร ธนบุรี, พระ ครูปสาธน์วิทยาคม(นอ) วัดกลางท่าเรือ อยุธยา, พระครูสุตาธิการี (ทองอยู่) วัดใหม่หนองพะอง สมุทรสาคร และพระครูสาทรพัฒนกิจ (ลมูล) วัดเสด็จ ปทุมธานี โดยมี พล.ร.ท. อุดม สุทัศน์ ณ อยุธยา เจ้ากรมอู่ทหารเรือในขณะนั้น ซึ่งเป็นประธานกรรมการดำเนินการจัดสร้างวัตถุมงคลเป็นประธานในพิธีฝ่าย ฆราวาส

การจัดสร้างปูชนียวัตถุมงคลอนุสรณ์ ๑๐๐ ปี “สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)” ในครั้งนี้คณะกรรมการดำเนินการจัดสร้างได้กราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทาน อัญเชิญ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเททองเป็นปฐม “มหามงคลราชาฤกษ์” ซึ่งเมื่อ หม่อมหลวงทวีสันต์ ลดาวัลย์ ราชเลขาธิการในขณะนั้น ได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทรงทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้วทรงรับเชิญ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเททองในวันเสาร์ที่ ๑๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๔ ตามกำหนดฤกษ์ เวลา ๑๕.๓๕ น. ถึงเวลา ๑๖.๑๒ น.ในการนี้ทางคณะกรรมการดำเนินการจัดสร้างได้ขอพระราชทานนาม “พระพุทธรูปพระประธานจำลอง” ไปด้วยแต่ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งเป็นพระบรมราชวินิจฉัยว่า “พระประธานมีพระนามอย่างไรก็ควร

ใช้ พระนามพระประธาน เป็นพระนามพระพุทธรูปพระประธานจำลองด้วย ถ้าพระประธานไม่มีพระนามก็ไม่จำเป็นต้องตั้งใหม่เพราะเป็นเพียงองค์จำลอง” ส่วนการเตรียมการรับเสด็จฯ ทรงเททองหล่อปูชนียวัตถุในวันเสาร์ที่ ๑๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๔นั้นทางคณะกรรมการดำเนินการจัดสร้าง ได้เตรียมการให้เป็นไปอย่างสมพระเกียรติตามกำหนดการ ซึ่งสำนักพระราชวังได้แจ้งพระราชกรณียกิจเสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเท ทองหล่อ “พระพุทธปฏิมาจำลองพระประธาน” ในพระอุโบสถและ “พระรูปเหมือน สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)”ณ วัดระฆังโฆสิตาราม ดังนี้ วันเสาร์ที่ ๑๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๔ เวลาประมาณ ๑๕.๒๐ น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งจากพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต ไปประทับเรือยนต์พระที่นั่งที่ท่าราชวรดิฐ เวลา ๑๕.๓๐ น. เรือยนต์พระ ที่นั่งเทียบที่ท่าหน้าวัดระฆังโฆสิตารามเสด็จขึ้นท่า พลเรือเอกจรูญ เฉลิมเตียรณ ประธาน กรรมการอำนวยการ รับเสด็จฯ และ คุณหญิงไสว เฉลิมเตียรณ ทูลเกล้าฯ ถวายช่อดอกไม้แด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินผ่านแถวข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน และนักเรียน เข้าสู่พลับพลาพิธี พระราชธรรมภาณี รักษาการเจ้าอาวาสรับเสด็จฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการบูชาพระรัตนตรัย แล้วเสด็จประทับ พระราชอาสน์ พระราชาคณะถวายศีล ประธานคณะอำนวยการฯ กราบบังคมทูลรายงาน และเชิญเสด็จฯไปทรงเททองหล่อ “พระพุทธปฏิมา” และ “รูปสมเด็จ พระพุฒาจารย์ (โต)”

พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ ไปยังเกยที่จะทรงเททองประธานกรรมการอำนวยการฯ ทูลเกล้าฯถวายโลหะ เพื่อโปรดเกล้าฯพระราชทานให้“นายช่าง” เชิญไปผสมในเบ้าหล่อ “พระพุทธรูป” และ “รูปสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต)” ตามจำนวนสั่งจองโดยเสด็จพระราชกุศล จากนั้นประธาน กรรมการอำนวยการฯทูลเกล้าฯถวายเผ่น “ทอง, นาก, เงิน” แด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงหย่อนลงในช้อนแล้วเทลงในเบ้า พลเรือโทอุดม สุทัศน์ ณ อยุธยา ประ ธานกรรมการดำเนินงานฯ ทูลเกล้าฯ ถวายเแผ่น “ทอง, นาก, เงิน” แด่สมเด็จพระนาง เจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงหย่อนลงในช้อนแล้วเทลงในเบ้า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงถือสายสูตรเททอง พระสงฆ์ ๑๐ รูป เจริญชัยมงคล คาถาพนักงานประโคม ฆ้องชัย สังข์ แตร และดุริยางค์ เสร็จแล้วเสด็จฯ เข้าสู่พลับ พลาพิธีทรงประเคนเครื่องไทยธรรมก่อนเสด็จฯ ประทับพระราชอาสน์ทรงหลั่งทักษิโณ ทก พระสงฆ์ถวายอนุ โมทนา ถวายอดิเรก ส่วน เหตุการณ์ขณะทรงประกอบ “พิธีเททอง” นั้นทางวัดระฆัง โฆสิตารามได้บันทึกเหตุการณ์ “มหัศจรรย์” ไว้ว่า “การเตรียมการประกอบพิธีเสด็จพระราชดำเนินทรงเททองหล่อปูชนียวัตถุมงคล อนุสรณ์ฯ ช่างได้ทำการก่อเตาหล่อหลอมโลหะปรากฏว่าเกิดฝนตกตลอดเวลาทั้งกลางวันและกลาง คืน โดยตกต่อเนื่องมาถึงบ่ายวันที่ ๑๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๔ ซึ่งเป็นวันที่จะเสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเททอง แต่แล้วฝนกลับ หยุดตกก่อนหน้าเวลาเสด็จฯ เพียง ๒-๓ ชั่วโมง ทั้งที่ท้องฟ้ายังคงฉ่ำไปด้วยสายฝนจึงนับได้ว่าวันที่เสด็จฯ ทรงเททองหล่อ “พระพุทธรูป” และ “พระรูปเหมือนสมเด็จฯ” นั้นด้วยอำนาจแห่งความศักดิ์สิทธิ์และด้วยพระบารมีของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ปรากฏว่าเมื่อได้ฤกษ์ที่จะ “ทรงเททอง” ท้องฟ้าซึ่งฉ่ำไปด้วยน้ำฝนกลับกระจ่างสว่างขึ้นมีแสงดวงอาทิตย์อ่อน ๆ สาดไปทั่วพิธีมณฑลยังความปีติยินดีอย่างแรงกล้าแก่ผู้ ที่ได้ประสบพบเห็นโดยทั่วหน้าเป็นที่อัศจรรย์ยิ่งและ ยิ่งกว่านั้น “รูปเหมือนสมเด็จฯ (โต)” (องค์เท่าองค์จริง) ทั้ง ๆ ที่สุมไฟแม่พิมพ์ “กลางสายฝน” มาตลอดและเป็นของใหญ่ที่ยากในการหล่อ แต่เมื่อทรงเททองแล้วและเอาพิมพ์ออกหมดแล้วปรากฏว่า “รูปเหมือนสมเด็จฯ” ออกมาดีบริสุทธิ์ไม่มีชำรุดหรือเสียหายแม้แต่น้อย ก็นับว่าเป็นอภินิหารและ พระบารมีซึ่งควรจะบันทึกลงไว้ในประวัติศาสตร์การสร้างปูชนียวัตถุในครั้งนี้ ด้วย เพราะการที่ฝนตกกระหน่ำตลอดเวลานั้นเป็นเรื่องของดินฟ้าอากาศ คณะกรรมการต่างวิตกกังวลถึงสภาพดินฟ้าอากาศในขณะนั้นมาก และได้สอบถามไปยัง “กรมอุตุนิยมวิทยา” ขอทราบลักษณะดินฟ้าอากาศระหว่างวันที่ ๑๔-๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๔ ทางกรมอุตุนิยมวิทยาก็ได้ให้การคาดหมายลักษณะอากาศไว้ดังนี้

ใน เดือน “กันยายน ๒๕๑๔” เป็นช่วงที่ประเทศไทยมีฝนตกชุกหนาแน่นที่สุดในรอบปี ในบริเวณภาคกลางรวมทั้งจังหวัดพระนครและธนบุรี โดยสถิติในรอบ ๓๐ ปี ปรากฏว่าในเดือนกันยายนจะมีฝนตกประมาณ ๒๑ วัน และในช่วงปลายเดือนและต้นเดือนฝนที่ตกส่วนมากเป็นช่วงระหว่าง “บ่าย ถึงเที่ยงคืน” และส่วนมากจะตกหลังจากเวลา ๑๕.๐๐ น. แล้ว.ในบันทึกของ“วัดระฆังฯ” ถึงเรื่องการสร้างวัตถุมงคลอนุสรณ์ “๑๐๐ ปี สมเด็จพระพุฒาจารย์” ได้แสดงความเห็นการพยากรณ์อากาศของ “กรม อุตุนิยมวิทยา” แล้วนำมาเปรียบเทียบกับพระบารมี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ตลอดทั้ง พระพุทธานุภาพ พระธรรมานุภาพ และพระสังฆานุภาพ รวมทั้งพระบารมีธรรมในท่าน เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ไว้ดังนี้

“ตาม การคาดหมายอากาศเป็นไปในลักษณะของวิทยาศาสตร์และสถิติซึ่งเป็น ที่เชื่อถือได้ และการคาดหมายก็เป็นจริงตามที่คาดหมายไว้เพราะฝนได้ตกมาตลอดเวลา ฉะนั้นการที่ฝนหยุดตกและท้องฟ้ากระจ่างทันทีในช่วงระยะเวลา จึงนับว่าเป็นนิมิตมงคลและเป็นพระบารมีของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ อีกทั้งความศักดิ์สิทธิ์ของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ดังแสดงให้ปรากฏเช่นนั้นซึ่งทุกท่านที่อยู่ ณ พิธีมณฑล มีความยินดีปีติอย่างที่สุด”
นอก จากนี้ในบันทึกของวัดระฆังฯ ฉบับดังกล่าวยังได้บรรยายเหตุการณ์ในขณะล้นเกล้าฯ ทั้งสองพระองค์ ทรงประกอบพิธีเททองปูชนียวัตถุมงคลอนุสรณ์ “๑๐๐ ปี สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)” ไว้ดังนี้….. “ในพิธีทรงเททองหล่อพระพุทธปฏิมาและรูปสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ในวันเสาร์ที่ ๑๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๔ นั้น เมื่อได้เวลา ๑๕.๓๕ น. อันเป็นมงคลฤกษ์ ประธานกรรมการอำนวยการได้กราบบังคมทูลถวายรายงานและเชิญเสด็จฯ ไปทรงเททองหล่อพระพุทธปฏิมาและรูปสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ ไปยังเกยที่จะทรงเททอง
พล.ร.อ.จรูญ เฉลิมเตียรณ ประธานกรรมการอำนวย การทูลเกล้าฯ ถวายแผ่นโลหะลงอักขระจากพระอาจารย์ต่าง ๆ ทั่วประเทศ และโลหะตามที่มีผู้บริจาคโดย เสด็จพระราชกุศลเพื่อโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้ นาย ประสิทธิ์ สงวนน้อย ผู้ว่าราชการจังหวัดธนบุรีขณะนั้นเชิญไปผสมในเบ้าทองหล่อพระพุทธรูปและรูป เหมือนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ทุกเบ้าเสร็จแล้วประธานกรรมการอำนวยการทูลเกล้าฯ ถวาย แผ่นทอง นาก เงิน แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงหย่อนลงในช้อน แล้วเทลงในเบ้าและ พล.ร.ท.อุดม สุทัศน์ ณ อยุธยา ประธานกรรมการดำเนินงานทูลเกล้าฯ ถวายแผ่นทอง นาก เงิน แด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงหย่อนลงในช้อนแล้วเทลงเบ้า เสร็จแล้วช่างก็เชิญไปเทพระพุทธรูปและรูปสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ตลอดเวลาที่ช่างเททอง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงถือสายสูตรเททอง พระสงฆ์ ๑๐ รูป เจริญชัยมงคลคาถา พนักงานประโคม ฆ้องชัย สังข์ แตร แลดุริยางค์”

จาก บันทึกดังกล่าวและจากการสอบถามจากนายช่างผู้รับงานสร้างวัตถุมงคลอนุสรณ์ “๑๐๐ ปี สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)” การเสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเททองในครั้งนี้ทรงประกอบพิธีเททองหล่อ วัตถุมงคลอนุสรณ์ ๑๐๐ ปี ทุกชนิดที่เป็นพระหล่อ ตั้งแต่ “พระพุทธปฏิมาประธานจำลอง” ทั้งขนาดบูชาและ “พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์” พร้อมทั้ง “รูปเหมือนพระพุฒาจารย์ (โต)” ทั้งขนาดบูชาและขนาดห้อยคอสำหรับทองชนวนที่เหลือก็นำไปเจือสำหรับสร้างเหรียญ “พระรูปเหมือน สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต)” ต่อไป

ทางด้านพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ ๑๐ รูป ที่เจริญชัยมงคลคาถาในขณะทรงประกอบพิธีเททองได้แก่

๑. สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (จวน อฏฐายีมหาเถระ) วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรมหาวิหาร สม เด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก องค์ที่ ๑๖ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
๒. สมเด็จพระวันรัต (ปุ่น ปุณสิริมหาเถระ) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ต่อมาภายหลังได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานสถาปนาเป็น… สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๑๗ แห่ง กรุงรัตนโกสินทร์
๓. สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (วาสน์ วาสนมหาเถระ) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ต่อมาภายหลังได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระ ราชทานสถาปนาเป็น…สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๑๘ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
๔. พระเทพเมธี วัดทองนพคุณ
๕. พระเทพญาณสุธี วัดสุวรรณาราม
๖. พระเทพวิริยาภรณ์ วัดยานนาวา
๗. พระเทพมุนี วัดอรุณราชวราราม
๘. พระ วิสุทธิวงศาจารย์ (เสงี่ยม จันทสิริมหาเถระ) ต่อมาภายหลังได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ “สมเด็จพระพุฒาจารย์” วัดสุทัศนเทพวราราม
๙. พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ธีร์ ปุณฺณกมหาเถระ) ต่อมาภายหลังได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นสมเด็จ พระราชาคณะที่ “สมเด็จพระธีรญาณมุนี” วัดจักรวรรดิราชาวาส
๑๐. พระอาจารย์ผ่อง จินดา วัดจักรวรรดิ ราชาวาส

สำหรับ รายนามพระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณทั่วพระราชอาณาจักรที่ลงอักขระเลขยันต์ ในแผ่นทองที่ใช้สำหรับหล่อวัตถุมงคลอนุสรณ์ ๑๐๐ ปี สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ในครั้งนี้จำนวน ๑๒๒ รูปที่ล้วนแต่เป็นพระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณและมีชื่อเสียงโด่งดังมากในยุคนั้น ผู้เขียนจึงนำรายชื่อที่เฉพาะท่านที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีและตกทอด มาถึงปัจจุบันเช่น “พระครูญาณวิลาศ (หลวงพ่อแดง) วัดเขาบันไดอิฐ จ.เพชรบุรี, พระครูโสภณกัลยาณวัตร (หลวงพ่อเส่ง) วัดกัลยาณมิตร, พระอาจารย์นาถ วัดประดู่ทรงธรรม จ.พระนครศรีอยุธยา, พระราชธรรมาภรณ์ (หลวงพ่อเงิน) วัดดอนยายหอม, พระครูภาวนานุโยค (หลวงพ่อหอม) วัดชากหมาก จ.ระยอง, พระครูพินิจสมาจารย์ (หลวงพ่อโด่) วัดนามะตูม จ.ชลบุรี, พระครูประสาธน์วิทยาคม (หลวงพ่อนอ) วัดกลาง อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา, พระราชสังวรวิมล (หลวงพ่อแช่ม) วัดนวลนรดิศ ธนบุรี กท., พระครูพิพิธวิหาร การ (หลวงพ่อเทียม) วัดกษัตราธิราช จ.พระนคร ศรีอยุธยา, พระอธิการต่วน วัดกล้วย จ.พระนครศรีอยุธยา, พระโพธิวรคุณ (ไพฑูรย์) วัดโพธินิมิตร ธนบุรี กท., พระครูสาธรพัฒนกิจ (ลมูล) วัดเสด็จ จ.ปทุมธานี, พระราชธรรมวิจารย์ (หลวงปู่ธูป) วัดแคนางเลิ้ง กท., พระครูสมุห์อำพล วัดปราสาทบุญญาวาส กท., หลวงปู่หิน วัดระฆังฯ กท., พระครูสาธกธรรมคุณ (หลวงพ่อลั้ง) วัดอัมพาราม จ.ชลบุรี เป็นต้น

คณาจารย์ร่วมพิธินั่งปรกพุทธาภิเษก วาระแรก

พระรักขิตวันมุนี (ถิร) วัดป่าเลย์ไลยก์ จ.สุพรรณบุรี
พระโพธิวารคุณ (ไพฑูรย์) วัดโพธินิมิตร กรุงเทพฯ
พระพุทธมนตวราจารย์ (สุพจน์) วัดสุทัศน์ราชวราราม
พระอาจารย์ผ่อง จินดา วัดจักวรรดิราชาวาส กรุงเทพฯ
พระครูวิริยกิตติ (โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพฯ
พระครูโสภณกัลยาณวัตร วัดกัลยาณมิตร กรุงเทพฯ
พระครูกัลยาณานุกูล (เฮง) วัดกัลยาณมิตร กรุงเทพฯ
พระครูประสาธน์วิทยาคม (นอ) วัดกลาง จ.พระนครศรีอยุธยา
พระครูสุตาธิกา (ทองอยู่) วัดหนองพะอง จ.สมุทรสาคร
พระครูสาทรพัฒนกิจ (ลมูล) วัดเสด็จ จ.ปทุมธานี
คณาจารย์ร่วมพิธิใน วาระที่ 3 วันพฤหัสบดี ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ.2515
พระพิธีเจริญพระพุทธมนต์ในพระอุโบสถ
สมเด็จพระวันรัต วัดพระเชตุพน
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดราชบพิธ
พระธรรมวโรดม วัดสังเสชวิศยาราม
พระศาสนโสภณ วัดบวรนิเวศวิหาร
พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ วัดจักรวรรดิราชาวาส
พระพรหมมุนี วัดราชผาติการาม
พระวิสุทธิวงศาจารย์ วัดสุทัศนเทพวราราม
พระธรรมปัญญาจารย์ วัดโสมนัสวิหาร
พระธรรมปัญญาบดี วัดสามพระยา
พระธรรมปิฎก วัดปทุมคงคา
พระพิธีในมณฑลวางศิลาฤกษ์โรงเรียนพระปริยัติธรรม
พระธรรมเจดีย์ วัดทองนพคุณ
พระเทพมุนี วัดอรุณราชราราม
พระธรรมวิสุทธาจารย์ วัดพิขัยญาติการาม
พระเทพวรมุนี วัดพระเชตุพน
พระเทพวรเทวี วัดปากน้ำภาษีเจริญ
พระเทพญาณมุนี วัดราชโอรสาราม
พระเทพเมธี วัดเศวตฉัตร์
พระธรรมมหาวีรานุวัตร์ วัดไตรมิตร
พระโสภณวราภรณ์ วัดอรุณราขวราราม
พระสังวรกิจโกศล วัดราชสิทธาราม
พระคณาจารย์ร่วมบริกรรมปลุกเสกวัตถุมงคล รุ่น อนุสรณ์ 100 ปี
พระเทพคุณาธาร (เจียม) วัดโสธรวราราม
พระราชสิงหวรมุนี (ทรัพย์) วัดสังฆราชาวาส
พระราชญาณดิลก (ชิต) วัดเขาเต่า
พระราชปัญญาโสภณ (สุข) วัดราชนัดดาราม
พระโพธิวรคุณ (ฑูรย์) วัดโพธินิมิตร
พระรักขิตวันมุนี (ถิร) วัดป่าเลย์ไลยก์
พระวิบูลเมธาจารย (เก็บ) วัดดอนเจดีย์
พระวิบูลย์วชิรธรรม (สว่าง) วัดคฤหบดีสงฆ์
พระโสภณธรรมมุนี (พ่วง) วัดศรีโคมคำ
พระพรหมจักสังวร (พรหมา) วัดพระบาทตากผ้า
พระสังวรกิจโกศล (เลิศ) วัดราชสิทธาราม
พระโสภณวราภรณ์ (เฉลียว) วัดอรุณราชวราราม
พระพุทธมนต์วราจารย์ (สุพจน์) วัดสุทัศนเทพวราราม
พระศรีสัจจาญาณมุนี (ประหยัด) วัดสุทัศนเทพวราราม
พระครูนนทกิจวิมล (ชื่น) วัดตำหนักเหนือ
พระครูสุตาธิการี (ทองอยู่) วัดหนองพะอง
พระครูโสภณกัลยาณวัตร (เส่ง) วัดกัลยาณมิตร
พระครูวิริยะกิตติ (โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี
พระครูสาทรพัฒนากิจ (ลมูล) วัดเสด็จ
พระครูกัลยานุกูล (เฮง) วัดกัลยาณมิตร
พระครูรัตนสราธิคุณ ผทอง) วัดสระแก้ว
พระครูประสาธน์วิทยาคม (นอ) วัดกลางท่าเรือ
พระครูอุทัยคณารักษ์ (ใหญ่) วัดสระแก
พระครูพิพิธวิหารการ (เทียม) วัดกษัตราธิราช
พระครูวิมลนวการ (เผ้ง) วัดหน้าพระบรมธาตุ
พระครูไพศาลวิสุทธิคุณ (สำลี) วัดห้วยยาง
พระครูพิพัฒน์สิริธร (คง) วัดบ้านสวน
พระครูวชิรรังษี (จันทร์) วัดมฤคทายวัน
พระครูจันทสโรภาส (เที่ยง) วัดม่วงชุม
พระครูพิศาลพัฒนกิจ (บุญรอด) วัดประดู่พัฒนาราม
พระครูประดิษฐ์นวการ (บุณ) วัดวังมะนาว
พระครูปิยธรรมภูษิต (คำ) วัดบำรุงธรรม
พระครูศรีปริยัตยานุรักษ์ (ไฝ) วัดพันอ้น
พระครูธรรมสาคร (กลับ) วัดโกรกกราก
พระครูวิจิตรชัยการ (สด) วัดหางน้ำสาคร
พระครูประสาธนุ์ขันธคุณ (มุม) วัดปราสาทเยอร์เหนือ
พระครุอาภัสสรคุณ (อารีย์) วัดท้ายชิด
พระครุสาธุกิจวิมล (เล็ก) วัดหนองดินแดง
พระครูสุวิชงนวรวุฒิ (ปี้) วัดลานหอย
พระครูศิลสารสัมบัน (สำรวย) วัดสระแก้วปทุมทอง
พระครูศรีพรหมโสภิต (แพ) วัดพิกุลทอง
พระครูภาวนาสังวรคุณ (เต๋) วัดสามง่าม
พระครูประสาทวรคุณ (พริ้ง) วัดโบสถ์โก่งธนู
พระคครูสมบูรณ์ศีลวัตร (สมบูรณ์) วัดแก่งคอย
พระครูพุทธิสังวรกิจ (ทอง) วัดเนรัญชรา
พระครูวิวัฒน์นครธรรม (ชาย) วัดนครธรรม
พระครูศีลคุณวัฒนาทร (โห) วัดพุทธิสาร
พระครูถาวรธรรมรัตน์ (เที่ยง) วัดเลียบ
พระครูอุดมเวทวรคุณ (เมือง) วัดท่าแหน
พระครูนันทิยคุณ (บุญตัน) วัดเชียงทอง
พระครูวิรุฬธรรมโกวิท (สิงห์คำ) วัดเจดีย์สถาน
พระครูมงคลคุณาทร (คำปัน) วัดหม้อคำตวง
พระครูภาวนาภิรัต (อินท์จักร์) วัดวนรามน้ำบ่อหลวง
พระครูวิริยะโสภิต (ทอง) วัดพระปรางค์
พระครูประกาสสมาธิคุณ (สังเวียน) วัดมหาธาตุ
พระครูปัญญาโชติวัตร (เจริญ) วัดทองนพคุณ
พระครุศีลโสภิต (แถม) วัดทองพุ่มพวง
พระครูสุวรรณวุฒาจารย์ (มุม) วัดดอนไร่
พระครูประภาสธรรมาภรณ์ (ลำยอง) วัดสุนทรประดิษฐ์
พระครูนิสัยจริยคุณ (วิสุทธิ์) วัดจันเสน
พระครูสมุทรวิจารย์ (จารย์) วัดประชาโฆสิตาราม
พระครูศีลวิมล (ท้วม) วัดเขาดบสถ์
พระครูโกวิทสมุทรคุณ (เนื่อง) วัดจุฬามณี
พระครูสุวรรณสุนทร (ทอง) วัดดอกไม้ (ตะกล่ำ)
พระครูอินทศิริชัย (ม้วน) วัดไทร
พระครูพุทธมัญจาภิบาล (ทองหล่อ) วัดพระแท่นดงรัง
พระครูอาจารโสภณ (เริ่ม) วัดกลางวังเย็น
พระครูโสภณรัตนากร (เพิ่ม) วัดดอนตูม
พระครูวิจิตรธรรมรส (สุดใจ) วัดบ้านโป่ง
พระครูพิทักษ์วิหารกิจ (สา) วัดราชนัดดาราม
พระครูพิลาสธรรมกิตติ์ (ทวี) วัดโรงช้าง อ.เมือง จ.พิจิตร
พระครูสุวรรณประภาส (ทอง) วัดธาตุสว่าง
พระครูวิจิตรพัฒนาภรณ์ (เจริญ) วัดดอกไม้
พระครูอภัยภาดาทร (ขอม) วัดโพธาราม
พระครูสถิตวุมิคุณ (ปลั่ง) วัดหนองกระทุ่ม
พระครุสถาพรพุทธมนต์ (สำเนียง) วัดเวฬุวนาราม
พระครูวิบูลธรรมเวท (เปรื่อง) วัดหิรัญญาราม
พระครูพิพัฒน์วรคุณ (ชู) วัดลุ่มเจริญศรัทธา
พระครูปลัดสงัด (สงัด) วัดพระเชตุพน
พระครูรัตนานุรักษ์ (อาจารย์แก้ว) วัดปงสนุกใต้
พระครูสุกิจวิริยากร (หมั่น) วัดดงสัก
พระครูธรรมธรบุญมี วัดท่าสะต๋อย
พระปลัดบุญเชิด วัดชมนิมิตร
พระครูสมุห์อำพล วัดประสาทบุญญาวาส
พระครูวิชัยณรงค์ฤทธิ์ วัดสิตาราม
พระอาจารย์ผ่อง วัดจักรวรรดิ์
พระอาจารย์แดง วัดเขาหลัก
พระอาจารย์รักษ์ วัดศรีรัตนคีรีวงศ์
พระอาจารย์นำ วัดดอนศาลา
พระอาจารย์บุรัชย์ วัดนายพญา
พระอาจารย์กี๋ วัดหูช้าง
พระอาจารย์จันทร์ วัดนามะตูม
พระอาจารย์ครูบาวัง วัดบ้านเด่น
พระอาจารย์แสน วัดท่าแทน
พระอาจารย์คง วัดสันพระรส
พระอาจารย์สวน วัดบางกระดาน
พระอาจารย์ใหญ่ วัดถ้ำใหญ่คูหาสวรรค์
พระอาจารย์จำรัส วัดเมืองกาย
พระอาจารย์เกลี้ยง วัดเขาใหญ่
พระอาจารย์โสภาโสภิกขุ วัดเทพนฤมิตคีรีขันธ์
พระอาจารย์ลมูล วัดพุทธวงศา
พระอาจารย์ชาย วัดสังข์ทอง
พระอาจารย์ดี วัดศรีสำราญ
พระอาจารย์หนูอินทร์ วัดพุทธคยา
พระอาจารย์ลี วัดป่าบ้านนอก
พระอาจารย์คูณ วัดหนองแวง
พระอาจารย์สุวรรณ วัดพรหม
พระอาจารย์เพ็ชร์ นนฺทเสโน วัดบ้านเด่น
พระอาจารย์อุ้ย วัดสังฆราชา
พระสุนทรธรรมภาณ (เมตตาหลวง) วัดเทพพิทักษ์ปุณนาราม