พระกำแพงลีลาพลูจีบ กำแพงเพชร

฿ 125,000.00

พระกำแพงพลูจีบ กรุทุ่งเศรษฐีของเมืองกำแพงเพชร จัดเป็นพระที่อยู่ในอันดับเดียวกับพระกำแพงเม็ดขนุน และเป็นที่นิยมสะสมเล่นหาของนักนิยมพระเครื่อง พระกำแพงพลูจีบมี 2 องค์นะครับ องค์ปีกกว้างกับองค์ปีกแคบครับ

พระกำแพงพลูจีบ เป็นหนึ่งในพระเครื่องอันแตกกรุจากทุ่งเศรษฐี จากวัดพระบรมธาตุ วัดเจดีย์กลางทุ่ง วัดพิกุล วัดบ้านน้อยบ้านไร่ ฯลฯ นอกจากนันยังพบจากกรุในฝั่งเมืองกำแพงเพชรด้วย ที่วัดพระแก้ววัดป่ามืด วัดเชิงหวาย ฯลฯ

มีสินค้าอยู่ 2

รหัสสินค้า: AM298 หมวดหมู่:

รายละเอียดเพิ่มเติม

พระกำแพงพลูจีบ กรุทุ่งเศรษฐีของเมืองกำแพงเพชร จัดเป็นพระที่อยู่ในอันดับเดียวกับพระกำแพงเม็ดขนุน และเป็นที่นิยมสะสมเล่นหาของนักนิยมพระเครื่อง พระกำแพงพลูจีบมี 2 องค์นะครับ องค์ปีกกว้างกับองค์ปีกแคบครับ

พระกำแพงพลูจีบ เป็นหนึ่งในพระเครื่องอันแตกกรุจากทุ่งเศรษฐี จากวัดพระบรมธาตุ วัดเจดีย์กลางทุ่ง วัดพิกุล วัดบ้านน้อยบ้านไร่ ฯลฯ นอกจากนันยังพบจากกรุในฝั่งเมืองกำแพงเพชรด้วย ที่วัดพระแก้ววัดป่ามืด วัดเชิงหวาย ฯลฯ

พระกำแพงพลูจีบจากฝั่งแม่น้ำปิงจะมีลักษณะของเนื้อพระที่แตกต่างกันคือ ฝังเมืองกำแพงเพชร เนื้อพระจะมีลักษณะหยาบ ส่วนพระเครื่องจากฝั่งทุ่งเศรษฐีมีลักษณะเนื้อพระที่ละเอียด พระกำแพงพลูจีบ เป็นที่รู้จักกันอย่างดีมาตั้งแต่ครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสกำแพงเพชร เมื่อปี พ.ศ.2449 พสกนิกรชาวกำแพงเพชรได้ทูลเกล้าฯ ถวายพระกำแพงพิมพ์ต่างๆ และพระองค์พระราชทานแก่ข้าราชบริพารที่ตามเสด็จครั้งนั้นโดยทั่วหน้า

ดังปรากฎในพระราชนิพนธ์ เรื่องเสด็จประพาสต้นครั้งที่ 2 ว่า “ที่เมืองกำแพงเพชรนี้ประหลาดว่าเป็นที่มีไข้เจ็บชุม ถึงถามชาวเมืองนั้นเองก็ไม่มีใครปฏิเสธสักคน ว่าไข้ไม่ชุ่มไม่ร้าย แต่ได้พบคนแก่ ทั้งหญิงทั้งชายมากกว่าที่ไหน ๆ หมด กรมการคร่ำ ๆ อายุ 70-80 ก็มีมากหลายคน ราษฎรตามแถวตลาด ก็มีคนแก่มาก ถ้าจะหารือพวกกำแพงเพชรจริงคงบอกว่า พระพิมพ์ป้องกัน ด้วยนับถือกันมาก พระเล่าให้ฟังว่าเวลาที่ไม่ได้เสด็จมาหากันนักดูหายากอย่างยิ่ง ต่อเมื่อเสโจมาจึงรู้ว่าพระพิมพ์มีมากถึงเพียงนี้ ต่างคนต่างก็ตระเตรียมกันอยากถวายก็เป็นความจริง เพราะผู้ที่มาถวายไม่ได้ถือหรือห่อมาตามปกติ จัดมาในพานดอกไม้นั่งรายตาม ริมถนน ได้เสมอทุกวันไม่ได้ขาดดูความนับถือกลัวเกรงเจ้านั้นมากอย่างยิ่ง เพราะไม่ใคร่ได้เคยเข้าเฝ้าฯ แหน แต่กิริยาอาการเรียบร้อย ไม่เหมือนตำบล บ้านตามระยะซึงกล้าไปยืนอยู่คงมีผู้กราบตีนไม่ได้ขาด”

พระกำแพงพลูจีบ มีลักษณะคล้ายคลึงกับพลูจีบ คือ มีลักษณะรูปทรงค่อนข้างยาวรี ปลาย องค์พระบางองค์เกือบแหลม มองเผิน ๆ นั้น คล้ายคลึงกับ “พลูจีบ” ซึ่งจะพับซ้อนกับเป็นรูปแบบยอดเรียวเล็ก เป็นพลูจีบม้วนกินกับหมาก ในรูปลักษณะเช่นนี้ กลายเป็นจุดเด่นให้นักสะสมพระเครื่องรุ่น ๆ แรก เรียกขานพิมพ์ทรงอันง่ายต่อการเรียกขาน และจดจำ

พระกำแพงพลูจีบเป็นพระเครื่องปางลีลา องค์พระไม่ล่ำสันแบบพระกำแพงเม็ดขนุน แต่การแกะพิมพ์องค์พระนั้นตื้นกว่ามาก องค์พระชลูดกว่า รายละเอียดของพิมพ์ทรงมีน้อยกว่า หากแต่ในลีลาของเส้นสายดูงดงามกว่า

พระกำแพงพลูจีบ เป็นพระเครื่องที่มีพิมพ์ค่อนข้างแบน ด้านหน้าโค้งงอเล็กน้ย ส่วนด้านล่าง จะกว้างใหญ่กว่าตอนบนสันข้างที่แสดงความหนาขององค์พระ จะมีลักษณะบางประมาณ 0.1-0.2 เซนติเมตร พระกำแพงพลูจีบไม่มีการตัดขอบข้างแต่จะถูกบีบให้พอดีกับแม่พิมพ์ ถูกบีบบางบ้างหนาบ้าง สันขอบทั้งล่างและบนจะเป็นรูปชะลูดโค้งมน

ปีกข้างพระเครื่องไม่ปรากฎ เนื่องเพราะไม่มีการ ตัดขอบ แต่ใช้การปาดโดยเนื้อพระให้เสมอกับแนวขอบเรือนแก้ว และพื้นผนังระหว่างขอบกับองค์พระจะมีลักษณะเป็นแอ่งกระทะ ปรากฎริ้วรอย ทางธรรมชาติเป็นจุดสังเกตประการสำคัญยิ่งในการดูพระกำแพงพลูจีบนี้อย่างดีทีเดียว ริ้วรอยนี้จะเป็นตะปุ่มตะป่ำ เป็นริ้วละเอียดทั่วไป ซึ่งสังเกตให้ดีไม่ใช่ริ้วรอยที่แกะขึ้นอย่างเด็ดขาด แต่เป็นริ้วรอยของธรรมชาติ
องค์พระประทับยืนแบบเขย่งก้าวและมีเส้นเงาลากจากปลายเท้าลงสู่อาสนะทำให้ มีลักษณะดังใส่รองเท้าส้นสูงนั่นเอง การประทับยืนในปางลีลาของพระกำแพงพลูจีบ มีท่วงท่าดังจะเหาะเหินสู่ฟากฟ้า ประทับบนอาสนะฐาน 4 ชั้น ชั้นบนเป็นบัวหงาย 3 กลีบ ชั้นล่างทั้ง 3 เป็ฐานหน้ากระดานฐานชั้นบนกลับบัวมีลักษณะคล้ายทรงข้างหลามตัด

รายละเอียดขององค์พระ มีดังนี้

พระเกศ มีรูปทรงปลี เหมือนเกศของพระกำแพงเม็ดขนุน คล้ายทรงน้ำเต้าสูงขั้นเป็นปลี ไม่ปรากฎรัศมีเปลวเพลิง ขอบพระเกศด้านขวาจะมีรอยขีด เซาะคล้ายถูกของมีคนขูดเซาะ พระพักตร์เป็น รูปผลมะตูม จะก้มพระพักตร์นิด ๆ และผินพระพักตร์ไปทางซ้ายพระกรรณติดไม่ชัดเจน ที่ปรากฎใน องค์ชัด ๆ จะเป็นเพียงราง ๆ ส่วนในด้านซ้ายพระพักตร์บังไว้จึงไม่มี

พระศอ เป็นเพียงร่องตื้นกลืนหายไปแต่มีริ้วรอยธรรมชาติเป็นรอยย่น ๆ พระอังสา(บ่า) เป็น ส่วนโค้งเล็กน้อย แนวช่องพระอังสาและพระอังสกุฆ(หัวไหล่) ค่อนข้างกว้าง พระอังสกุฏ ทั้งสองข้างโค้งขึ้น สูงข้างต่ำข้าง โดยมากพบว่าข้างขวาสูงกว่าข้างซ้าย
พระอุระ (อก) นูนเด่นเล็กน้อย
พระพาหา (แขน) ข้างซ้ายยกขึ้นเสมอพระอุระ ส่วนข้างขวาทดอลงข้างลำพระองค์ โดยมีลักษณะการทอดลงอย่างอ่อนช้อย ข้อพระหัตถ์จะปรากฏรอยรัดของจีวรอย่างเด่นชัด นิ้วพระหัตถ์ขวาไม่ปรากฏ แสดงให้เห็นเป็นน้วกางเช่นในพระกำแพงเม็ดขนุนแต่นิ้วจะเกาะติดกันเป็นพืด พระอังคุฐ (นิ้วหัวแม่มือ) จะสั้นมาก

พระกำแพงพลูจีบ
ว่านหน้าทอง

พระกำแพงพลูจีบปรากฏชายจีวรลากติดต่อข้อศอกซ้าย และขนานมากับพระพาหาด้านขวามือ ลากลงมาทาง สันพระบาทเป็นเส้นคู่ขนานคมบางจนถึงแนวพระชานุ(เข่า)กับพระชงฆ์(แข้ง) จึงลากเป็นเส้นเดี่ยวมา บรรจบกัน ชายขอบล่างเป็นแนวเฉียงตัดเข้าหาข้อพระบาทเบื้องซ้ายเป็นเส้นทิวนูนดูเหมือนสวมกางเกงจีน พระกำแพงพลูจีบนั้นนักสะสมพระเครื่องกล่าวว่า มีลักษณะรูปเมวดาเหาะนุ่งกางเกงแพรขาบานสวมรองเท้าส้นสูง ลำพระองค์เป็นช่วงยาว ไม่ปรากฏพระนาภี(สะดือ) หากแต่รัดประคด พระเพลาแสสดงให้เห็นถึงส่วนโค้งของ สะโพกด้านขวาที่โค้งงาม ส่วนในด้านซ้ายรับกับด้านขวา

ด้านหลังองค์พระ ขอบข้างมีลักษณะโค้งเล็กน้อยจากการบีบเพื่อให้พอดีกับแม่พิมพ์ที่กดพระ จึงปรากฏรอยนิ้วมือบางองค์ด้านหลังแบบ บางองค์ด้านหลังนูนปรากฏรอยเล็บจิกเอาพระออกจาก แม่พิมพ์ทางด้านข้างหรือใต้ของพิมพ์ เนื้อพระในประเภทเนื้อดินเผา จะมีเนื้อค่อนข้างละเอียด มีความหนึกนุ่มเมื่อส่องไล่ดูเนื้อจะมีความฉ่ำ ปรากฏ ว่านดอกมะขามและมีรอยคราบน้ำว่านบนองค์พระ ในเนื้อดินมีสีสันด้วยกันหลากสี เช่น สีแดง สีเหลือง สีเขียว และมีด้วยกัน 3 เนื้อหา คือ เนื้อดินเผา เนื้อชินเงิน และเนื้อว่าน มีทั้งหน้าทอง หน้าเงิน ปิดหน้าก็มี