พระหลวงพ่อโต กรุวัดบางกระทิง พิมพ์สมาธิ เนื้อดินลงรักฯ

฿ 7,500.00

ให้เช่า พระหลวงพ่อโต กรุวัดบางกระทิง พิมพ์สมาธิ เนื้อดินลงรักฯ ต.หัวเวียง อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา สุดยอดพระคงกระพันชาตรีมหาอุด สภาพลงรักดำมา แต่รักลอกหลุด พอเห็นเป็นคราบรัก ยังสวย ไม่มีชำรุด

รหัสสินค้า: AM581 หมวดหมู่:

รายละเอียดเพิ่มเติม

พระหลวงพ่อโต กรุวัดบางกระทิง เป็นพระที่มีจำนวนสร้างมาก คาดว่าน่าจะเท่ากับ พระธรรมขันธ์ คือ 84,000 องค์ หรือมากกว่านั้น ทำให้พบเห็นโดยทั่วไป ในส่วนพระเนื้อดิน นับเป็นเนื้อดินที่เป็นเอกลักษณ์ของเมืองอยุธยาโดยเฉพาะ ราคาเช่าหาไม่แพงนัก แต่ที่สวยคมชัดมากๆ อาจจะมีราคาที่สูงกว่าพระทั่วๆ ไป

พุทธศิลป์ เป็นฝีมือของช่างสมัยอยุธยา อายุกว่า 400 ปี ชาวอยุธยารุ่นเก่าๆ เล่าว่า สมัยก่อนบริเวณวัดบางกระทิง มักพบพระหลวงพ่อโตตกหล่นอยู่ตามพื้นดินตามลานวัดโดยทั่วไป คนสมัยก่อนไม่นิยมนำพระเข้าบ้าน เมื่อนำพระมาใช้ติดตัวยามไปไหนมาไหน หรือนำออกสู้รบในสงครามเสร็จแล้ว ก็มักจะนำพระกลับมาเก็บไว้ที่วัดเหมือนเดิม

สำหรับการแตกกรุของ พระหลวงพ่อโต นั้น ก่อนหน้านี้ไม่ปรากฏหลักฐาน แต่ที่ทางวัดเปิดกรุอย่างเป็นการ คือในปี 2481 ขณะรื้อโบสถ์เก่าเพื่อสร้างใหม่ จึงได้พบพระหลวงพ่อโต บรรจุอยู่ใต้ฐานพระประธาน ทางวัดจึงได้นำพระส่วนหนึ่งออกมาแจกสมนาคุณแก่ชาวบ้าน ที่ร่วมทำบุญสร้างโบสถ์หลังใหม่ ส่วนพระที่เหลือได้นำบรรจุที่ฐานพระประธานในโบสถ์หลังใหม่

ในการพบกรุพระหลวงพ่อโต ครั้งนั้นได้พบ แม่พิมพ์ ของพระหลวงพ่อโตด้วย ต่อมาได้มีคนร้ายแอบขุดพระหลวงพ่อโต ที่ใต้ฐานพระประธานได้ไปจำนวนหนึ่ง พร้อมกับเอาแม่พิมพ์เก่าไปด้วย ทางวัดจึงได้เปิดกรุพระอย่างเป็นทางการอีกครั้งหนึ่ง เพื่อป้องกันมิให้คนร้ายแอบลักขุดขโมยพระได้อีก

การขุดกรุครั้งนี้ ได้พบ พระหลวงพ่อโต อีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งเป็นคนละส่วนกับที่ขุดได้ในครั้งก่อน ทางวัดได้ให้กรมศิลปากร ตรวจสอบ ปรากฏว่า พระหลวงพ่อโต ในส่วนนี้เป็นการสร้างขึ้นภายหลัง ในสมัยรัตนโกสินทร์ เนื่องจากเนื้อหามวลสารแตกต่างกัน และอายุความเก่าไม่ถึงสมัยอยุธยา ไม่เหมือนกับพระหลวงพ่อโตที่ขุดพบก่อนหน้านี้

พระหลวงพ่อโต มีสัณฐานเป็นรูปสามเหลี่ยม องค์พระประทับนั่งขัดสมาธิราบ บนฐานบัวคว่ำบัวหงาย มีทั้งปางสมาธิ และ ปางมารวิชัย องค์พระคมชัดนูนเด่น พระพักตร์ใหญ่ และมักปรากฏรายละเอียดต่างๆ บนพระพักตร์อย่างครบถ้วน รวมทั้งเส้นสังฆาฏิ ด้านหลังองค์พระ ส่วนใหญ่มีรอยปาด ที่เรียกกันว่า “รอยกาบหมาก”